ผังกระแสงาน

แผนผังกระแสงาน

          คลังสารสนเทศดิจิทัล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU Digital Collections) ให้บริการเอกสารฉบับเต็มทั้ง ผู้ใช้บริการภายในและภายนอก มธ. โดยวิธีการสงวนรักษา (Preservation) ด้วยวิธีแปลงไฟล์เป็นดิจิดัล (Digitize) หรือไฟล์ที่เป็นรูปแบบดิจิทัลแต่แรก (Born-digital) ภายใต้กรอบแนวคิดระบบสารสนเทศจดหมายเหตุแบบเปิด (Open Archival Information Systems: OAIS) ในการดำเนินงาน เพื่อให้มีวิธีการสงวนรักษาที่เป็นมาตรฐานสามารถเข้าถึงได้ในระยะยาวและนำกลับมาใช้ใหม่ตลอดเวลา

ผังกระแสงานการนำข้อมูลเข้าระบบ

   ผังกระแสงานคลังข้อมูลฯ นี้ ได้นำมาใช้ในขั้นตอนการดำเนินงาน ตั้งแต่การผลิต การจัดการไฟล์ และการเผยแพร่ตามสัญญา  สัญญาอนุญาตการใช้งานแบบเปิด Creative Commons (CC BY-NC-ND 3.0) สำหรับการใช้งานคลังข้อมูลดิจิทัล ได้แก่

1. การผลิตข้อมูลดิจิทัล

1.1 ข้อมูลจากผู้ผลิตสารสนเทศ (Producer) ทั้งบุคคลและหน่วยงานเป็นผู้จัดทำเผยแพร่

          ผู้ผลิตผลงานได้แก่ อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ ตำรา รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ รวมถึงสารนิพนธ์ระดับปริญญาตรี ที่ส่งมอบตัวเล่มหรือไฟล์ให้กับหอสมุดฯ เพื่อทำการสงวนรักษาและมอบสิทธิ์การเผยแพร่ให้กับหอสมุดฯ โดยหากเผยแพร่ด้วยบุคคลจะต้องกรอกแบบฟอร์มยินยอมเผยแพร่ผลงานวิชาการ/ผลงานวิจัยในรูปแบบดิจิทัลผ่านอินเตอร์เน็ตพร้อมลงลายมือผ่านบริการ Digital Repository (https://library.tu.ac.th/bbs/content/94_402) หรือส่งไฟล์มายังอีเมล praserv@tu.ac.th ส่วนสารนิพนธ์ระดับปริญญาตรีผ่านความเห็นชอบจากทางคณะให้เผยแพร่ผลงานได้ โดยคณะส่งตัวเล่มหรือไฟล์มายังหอสมุดฯ แล้วหอสมุดจัดการไฟล์ให้อยู่ในรูปแบบ PDF/A และนำเข้าระบบคลังข้อมูลฯ สำหรับการเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ นั้นได้รับสิทธิ์การเผยแพร่ตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ พ.ศ. 2559 โดยข้อมูลที่นำเข้าระบบ TU e-Thesis หรือไฟล์ที่นำส่งเผยแพร่ให้มีมาตรฐานตามที่กำหนด (คู่มือการนำข้อมูลเข้าระบบ TU e-Thesis)ตลอดจนรูปแบบการจัดการเนื้อหาตามคู่มือการจัดทำวิทยานิพนธ์ https://library.tu.ac.th/bbs/content/94_628  

และนำเข้าข้อมูลเมทาดาพร้อมชี้ลิงก์ไปยัง Full text ที่ฐาน TU e-Thesis และนำออกให้บริการบนระบบ TUDC

หมายเหตุ วิทยานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ จากระบบ TU e-Thesis หอสมุดฯ จะส่งข้อมูลไปยังระบบขอรหัสตัวระบุวัตถุดิจิทัล (Digital Object Identifier: DOI) จากทางศูนย์สารสนเทศการวิจัย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผ่านทาง API โดยหน่วยงานตัวแทนคือหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไฟล์เข้าสู่ระบบจัดเก็บไฟล์ของ วช. และออกรหัสตัวระบุวัตถุดิจิทัล (DOI) จากระบบของ วช. และรหัส DOI ดังกล่าวจะถูกส่งกลับมายังระบบ TU e-Thesis โดยอัตโนมัติ

สำหรับวิทยานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ ก่อนปีการศึกษา 2558 ลงไป ใช้วิธีแปลงไฟล์จากตัวเล่มและนำเข้าคลังสารสนเทศฯ TUDC

1.2 ข้อมูลจากการแปลงเป็นดิจิทัลไฟล์ (Digitize) ด้วยวิธีการสแกน รวมถึงการแปลงไฟล์ให้อยู่ในรูปแบบ ตามมาตรฐานที่จัดเก็บ และนำเข้าข้อมูลในระบบคลังสารสนเทศฯ TUDC ตามคอลเล็กชั่น

2. การจัดการไฟล์และเมทาดาทา

                      ระบบคลังสารสนเทศฯTUDCใช้มาตรฐานการลงรายการด้วยมาตรฐานดับลินคอร์เมทาดาทา(DublinCore Metadata) http://www.dublincore.org/documents/dces/ มาเป็นรูปแบบในการอธิบายข้อมูลดิจิทัลในระบบ ซึ่งครอบคลุมข้อมูล 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่

2.1 หน่วยข้อมูลย่อยที่เกี่ยวกับเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศ ได้แก่ ชื่อเรื่อง  หัวเรื่อง คำสำคัญ ภาษา ความสัมพันธ์กับงานต่าง ๆ

2.2 หน่วยข้อมูลย่อยที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน สำนักพิมพ์ และสิทธิ์

2.3 หน่วยข้อมูลย่อยที่เกี่ยวกับรูปแบบที่ปรากฎ ได้แก่ วันเดือนปีที่ผลิต ประเภท รูปแบบที่ใช้นำเสนอ และตัวระบุเอกลักษณ์หรือรหัสต่าง ๆ

          สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ ได้เพิ่มเขตข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอแก่การอธิบายทรัพยากรดิจิทัล ได้แก่

          - Rights

          - Rights Holder

          - Degree name

          - Degree Discipline

          - Faculty/College

          สำหรับรายการหัวเรื่องซึ่งเป็นศัพท์ควบคุม คลังข้อมูลฯ ใช้คู่มือ หัวเรื่องหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และหัวเรื่องภาษาอังกฤษ ใช้คู่มือหัวเรื่อง Library of Congress Subject Heading (LCSH) และหัวเรื่อง Medical Subject Headings และใช้ Keyword เป็นศัพท์ไม่ควบคุม และใช้หลักการลงรายการตามหลักเกณฑ์การลงรายการแบบแองโกลอเมริกัน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 (Anglo-American cataloguing)

3. การอัพโหลดไฟล์เข้าระบบ TUDC เมื่อจัดการไฟล์ข้อมูลเมทาดาทาใน Excel Template แล้วเจ้าหน้าที่จะอัพโหลดไฟล์พร้อมลิงก์ (กรณีชี้ลิงก์ไปภายนอกหรือไฟล์เข้าระบบพร้อมกัน โดยในขั้นตอนการอัพโหลดไฟล์และเมทาดาทานั้นจะผ่านการตรวจสอบก่อนเผยแพร่สองครั้ง คือตรวจสอบระหว่างอัพโหลดข้อมูล เช่น ข้อมูลเมทาดาทาครบถ้วนถูกต้อง ไฟล์ที่อัพเข้าระบบตรงกับข้อมูลเมทาดาทา ลิงก์สามารถใช้งานได้เป็นต้น และเมื่ออัพโหลดเข้าระบบแล้วเจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งก่อนคลิกเผยแพร่

4. การตรวจสอบ แก้ไขข้อมูล เมื่อเจ้าหน้าที่อัพโหลดไฟล์และเมทาดาทาเข้าระบบเรียบร้อยแล้ว จะมีการสุ่มตรวจสอบคุณภาพ ทั้งข้อมูลเมทาดาทาเพื่อความถูกต้องตามมาตรฐานการสุ่มตรวจ AQL = 10 (Sampling plan table (AQL: Acceptable Quality Level) Level II) เดือนละสองครั้งโดยบรรณารักษ์ผู้เชี่ยวชาญ หากพบความผิดพลาดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ผู้นำข้อมูลเข้าระบบแก้ไขพร้อมอธิบายข้อผิดพลาดให้เข้าใจเพื่อลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานครั้งถัดไป เพื่อให้ข้อมูลเมทาดาทาในระบบมีความถูกต้องและเพียงพอให้ผู้ใช้บริการตัดสินใจดาวน์โหลดใช้งานและเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดสิทธิ์การใช้งานไว้

5. การแก้ไขไฟล์เมื่อพบความผิดพลาดหรืออัพเดทข้อมูล เมื่อพบความผิดพลาดหรือไฟล์มีการอัพเดทจากเจ้าของผลงาน เช่น หน้าไม่ครบ หรือเจ้าของผลงานแจ้งเปลี่ยนไฟล์ จะทำการอัพเดทโดยการลบไฟล์เก่าแล้วทำการอัพเดทไฟล์เข้าไป พร้อมระบุผู้กระทำ และระบบมีการบันทึกการเปลี่ยนแปลงการแก้ไข รวมถึงแบคอัพไฟล์ใหม่ที่นำเข้าระบบใหม่ด้วย

          นอกจากนี้หากผู้ใช้บริการพบความผิดพลาดของข้อมูลทั้งเมทาดาทาหรือไฟล์สามารถแจ้งปัญหาเข้ามาได้ในช่องทางรับแจ้งปัญหา หรืออีเมลpreserv@tu.ac.th และเบอร์โทรศัพท์: 02 613-3523, 02613 3552 (งานพัฒนาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์)

รูปแบบไฟล์

รูปแบบไฟล์ที่จัดเก็บเพื่อการสงวนและเผยแพร่ให้บริการ รวมถึงเพื่อการใช้งานในระยะยาว ดังนั้นจึงได้กำหนดมาตรฐานไฟล์ ดังนี้

ชนิดไฟล์

รูปแบบไฟล์

ไฟล์เอกสาร

PDF, PDF/A, TXT

ไฟล์รูปภาพ

JPG, PNG, TIFF

ภาพเคลื่อนไหว

MP4, AVI 

เสียง

MP3, WMV

 

ทั้งนี้ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการศึกษามาตรฐานของไฟล์ที่เกิดขึ้นใหม่เสมอ เพื่อให้ไฟล์สามารถใช้งานได้ในปัจจุบันตลอดจนเพื่อการสงวนรักษาในระยะยาวด้วย เช่น ติดตามข่าวสารจาก https://www.pdfa.org/